ความเป็นมาของ “ชาวเล”

     เป็นชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเรือและใช้วิถีชีวิตที่เรียบง่ายกับท้องทะเลมาเป็นเวลาหลายช่วงอายุคน หรือบางครั้งใช้คำว่า “ชาวน้ำ” (Sea people หรือ sea gypsy) งานศึกษาวิจัยพบว่า ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองในทะเลอันดามันที่อาศัยมาอย่างยาวนานประมาณ 300-500 ปี โดยเดินทางและทำมาหากินอย่างอิสระบริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ ทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย พม่า อินเดีย แต่หลังจากมีการแบ่งเส้นแดนระหว่างประเทศต่างๆชัดเจน ทำให้ชาวเลต้องปักหลักถื่นฐานในแต่ละประเทศนั้นเอง

กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  • กลุ่มมอแกน 
  • กลุ่มมอแกลน
  • กลุ่มอูรักลาโว้ย

แม้ว่าจะมีภาษาและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่หากพิจารณาและดูให้ลึกๆแล้วนั้น พบว่ามีความแตกต่างในเรื่อง ภาษา แม้จัดอยู่ออสโตรนีเซีย แต่กลุ่มอุรักลาโว้ยมีภาษาที่แตกต่างกับกลุ่มอื่นๆ และรวมถึงวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย

การตั้งถิ่นฐานของชาวเลในภูเก็ต

     ภูเก็ตเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเกาะบริวาร ๓๒ เกาะ ส่วนกว้างสุด ๒๑.๓ ก.ม. ส่วนยาว ๔๘.๗ ก.ม. ส่วนทะเลก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำและแร่ธาตุ เคยส่งไข่มุกไปขายยุโรปและเป็นชุมทางเดินเรือของยุโรป อินเดีย จีนและหมู่เกาะชวามานาน ส่วนแผ่นดินเกาะใหญ่มีเทือกเขาทอดยาวแนวเหนือใต้ ยอดสูงสุด ๔๒๙ เมตร จึงเป็นแนวกำบังลมและฝนทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลนและป่าชายเลน ด้านตะวันตกเป็นหาดทรายที่สวยงาม และบริเวณที่ราบเชิงเขามีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนหลักๆ ที่สำคัญหลายแห่งของเมืองภูเก็ต

     พลเมืองดั้งเดิมที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเป็นภูเก็ตคือ “ชาวไทยใหม่”      (ชื่อเรียกทางราชการของชาวน้ำหรือชาวเล) และยังประกอบด้วยชุมชนหลายเชื้อชาติหลายภาษาที่เดินทางแสวงโชคและด้วยการค้าทางทะเลมารวมกันที่เกาะภูเก็ต เช่น ชาวอินเดีย ชาวจีน สำหรับชาวเลได้อพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้นจนสามารถครอบครองที่ดินภูเก็ตได้มากกว่าชาติพันธุ์อื่น และเนื่องจากภูเก็ตมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจการค้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเกาะภูเก็ตจึงมีประชากรแฝงจากจังหวัดอื่นๆ และจากต่างชาติในลักษณะนักลงทุนและลูกจ้างแรงงานเป็นจำนวนมาก 

          สามาระเรียนรู้เพิ่มเติ่มได้ที่นี่ :

แหล่งข้อมูลอ้างอิง ชนเผ่ามอแกลน ชนเผ่ามอแกน ชนเผ่าอูรักลาโว้ย

     ปัจจุบัน ชาวเลในจังหวัดภูเก็ตเผชิญกับปัญหาหลายประการ เช่น การสูญเสียถิ่นฐาน การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ยากลำบาก ปัญหาการขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก และปัญหาการเข้าถึงระบบการศึกษา ภาครัฐและองค์กรต่างๆ จึงพยายามให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมให้ชาวเลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น