อาหาร

ท้องถิ่น

มีความเป็นมาที่ผสมผสานจากหลายวัฒนธรรม

หมี่ฮกเกี้ยน

     ต้นกำเนิดของหมี่ฮกเกี้ยนแน่นอนว่าต้องมาจากมณฑลฮกเกี้ยน ตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งเมื่อชนเผ่าชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย ในช่วงสมัยอยุธยา

     โดยส่วนใหญ่ชาวจีนฮกเกี้ยนจะเข้ามาอยู่ในบริเวณภาคใต้ ทำให้ชาวไทยได้รับอิทธิพลจากจีนในหลากหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม, สถาปัตยกรรม หรืออาหาร และเมนู “หมี่ฮกเกี้ยน” ก็กลายเป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตในเวลาต่อมาอีกด้วย

ขนมจีนน้ำยา

     ขนมจีนภูเก็ต ถือว่าเป็นอาหารที่คนผู้นิยมมาช้านาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยขนมจีนภูเก็ตมีเอกลักษณ์ในเรื่องของน้ำแกงที่ราด และผักที่ใช้ร่วมรับประทาน นอกจากน้ำแกงประเภท น้ำยา น้ำพริก แล้วยังมีแกงไตปลา แกงต่าง ๆ อีกด้วย และยังมีบางคนที่จะรับประทานเป็นอาหารเช้า แต่ปัจจุบันรับประทานได้ทั้งวัน

โอวต้าว

     อาหารพื้นเมืองของคนภูเก็ต เชื้อสายจีนฮกเกี้ยน คล้ายๆ หอยทอด ผสมกับ ออส่วน ลักษณะเด่นๆ ของโอวต๊าว คือ เป็นแป้งผัดนุ่มๆ ใส่ไข่ หอยติบ (ลักษณะคล้ายกับหอยนางรม แต่ตัวเล็กกว่ามาก) เผือก ปรุงรสด้วยซอสกระเทียม พริกแห้ง และเครื่องปรุงสูตรเฉพาะ รสชาติกลมกล่อม เผ็ดหน่อยๆ โรยหน้าด้วยหอมแดงเจียว ผสมกับกากหมูที่สับเป็นชิ้นเล็กๆ รับประทานแกล้มกับถั่วงอกสด เพื่อตัดเลี่ยน

โลบะ

A title

Image Box text

เปาะเปี๊ยะสด

A title

Image Box text

น้ำพริกกุ้งเสียบ

A title

Image Box text

ติ่มซำ

A title

Image Box text

หมูฮ้อง

     เมนูพื้นถิ่นของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในแถบภาคใต้บ้านเรา สาเหตุที่เรียกกันว่า “หมูฮ้อง” มาจากคำว่า ฮ้อง คือ การต้มให้เข้าเนื้อ เป็นสูตรดั้งเดิมของชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่ที่เมืองภูเก็ต และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ปีนัง-สิงคโปร์ คนจีนเหล่านี้จะทำหมูฮ้องกินกันในงานไหว้ งานมงคล ทำครั้งหนึ่งเป็นหม้อใหญ่ ๆ ไว้ให้ลูกหลานตักกินได้เต็มที่ ปัจจุบันหลายคนเข้าใจผิดว่า หมูฮ้องกับหมูพะโล้เป็นอาหารเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงอาหารสองชนิดนี้มีความแตกต่างกัน