มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อําเภอกะทู้จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุด
พบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามีมนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ํากว่า 3,000 ปีมาแล้ว และได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปีพ.ศ.700 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมีกล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า ” แหลมตะโกลา ” เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อนของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวออกจากผืนแผนดินใหญ่จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ําระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ําแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบันสําหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปีพ.ศ.700ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า ” แหลมตะโกลา ” แล้วได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึงผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้งจากบันทึกและแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออกของชาติยุโรป ระหว่าง พ .ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า ” จังซีลอน” นอกจากนี้ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขานผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปีพ.ศ.1568 ว่า “มณิกคราม ” หมายถึง “แก้ว” ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ” ภูเก็จ ” ซึ่งแปลว่า “เมืองภูเขาแก้ว” ที่ปรากฎหลักฐานชัดเจนในจดหมายของท้าวเทพกระษัตรีเมื่อ พ.ศ.2328 ที่เขียนถึงกัปตัน ฟรานซิสไลท์ โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึงบุตรชาย คือ พระยาถลางเทียน เมอครั้งเป็นเจ้าเมืองภูเก็จ ความว่า “ให้บอกไปแก่เมืองภูเก็จให้แจ้ง ข้าเจ้าจะเอาลงมาให้” และได้มีการเรียกขานเรื่อยมา จนกลายเป็น ” ภูเก็ต ” ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา ดังนั้น
จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น
ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิกคราม จงซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลางและ ทุ่งคาร่วมด้วย