สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส เป็นการสถาปัตยกรรมแบบจีนและยุโรป รวมทั้งสถาปัตยกรรมแบบอังกฤษที่ใช้ในประเทศอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของตนเข้ามาผสมผสานอยู่ด้วย นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมบางท่าน จึงเรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศที่ชาติตะวันตกเข้าปกครองเป็นอาณานิคม มีการถกเถียงคำเรียกที่ต้องว่า สถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน แต่คำว่า สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตูกีสเป็นชื่อเรียกที่ใช้มาตั้งแต่เริ่มที่มีการกล่าวถึงสถาปัตยกรรมดังกล่าวในภูเก็ต ส่วนที่มานั้น ชิโน หมายถึง มีความเป็นจีนอยู่รวมกัน ส่วนคำว่า โปรตุกีส มีความหมายรวมว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป สันนิษฐานว่าเป็นการรับรู้ชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาในดินแดนสยามรวมถึงภูเก็ตเป็นชาวโปรตุเกส
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส หรือสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน เริ่มมีการก่อสร้างมากที่สุดอยู่ระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเข้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2468) เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่กิจการเหมืองแร่ดีบุกในภูเก็ตได้รับการพัฒนามากที่สุดละมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาก
ข้อจำกัดของโครงสร้างตึกทำให้ไม่สามารถสร้างหน้าต่างระบายอากาศได้ ทุกบ้านจึงต้องเจาะหลังคาเปิดโล่งบริเวณกลางบ้าน เรียกว่า “ฉิมแจ้” และสร้างบ่อน้ำลึกเอาไว้เพื่อให้ลม แสง อากาศ และฝนผ่านเข้ามา เป็นการระบายอากาศและสร้างที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในครัวเรือนไปพร้อม ๆ กัน
อาคารแต่ละแห่งที่ได้รับการปรับเปลี่ยนหน้าตาจากตึกเก่าให้ตอบรับกับวิถีชีวิตใหม่ของคนเมืองภูเก็ตมากขึ้น โดยยังคงโครงสร้างเดิมของอาคารเก่าแก่ 100 เอาไว้ แล้วปรับปรุงทาสีและตกแต่งให้เข้ากับปัจจุบันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของโรงแรม ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ ธนาคาร ร้านขายยา ออฟฟิศ ฯลฯ